ประวัติความเป็นมา
ตำบลนางแล เป็นตำบลที่แยกมาจากตำบลบ้านดู่ ประมาณ พ.ศ.2457 ประมาณ พ.ศ.2457 และได้รับการยกฐานะเป็น อบต.เมื่อ 30 ม.ค. 2539 ต.นางแล มีชื่อเสียงในด้านการเกษตร โดยเฉพาะ สับประรดพันธุ์นางแล (พันธุ์น้ำผึ้ง) เพราะมีรสชาดไม่เหมือนสับประรดพันธุ์อื่น ๆ ต.นางแลเป็นตำบลที่เป็นเส้นทางผ่านไปสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ จ.เชียงราย เช่น แม่สาย เชียงแสน และแม่สะลอง เป็นต้น เหมาะแก่การลงทุน เพราะสภาพพื้นที่อยู่ในเขตของแผนพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ นอกจากเป็นแหล่งเกษตรที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายแล้ว ต.นางแล ยังมีน้ำตกนางแลใน อันสวยงาม อยู่ในตำบล เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ปัจจุบัน อบต.นางแล ได้จัดงบประมาณไปดำเนินการปรับปรุงบางส่วนแล้ว เพื่อจะให้มีความสวยงาม และบริการนักท่องเที่ยวในอนาคตต่อไป
พื้นที่
ตำบลนางแลมีพื้นที่ประมาณ 55 ตร.กม. หรือประมาณ 34,375 ไร่ มีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มระหว่างภูเขา เหมาะแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ย ต่ำสุดประมาณ 8 องศา สูงสุด 33.9 องศา
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
ทิศใต้ ติดกับ ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน/ทำไร่
อาชีพเสริม ทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสับประรดนางแล
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 3,306 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 85.00 ของพื้นที่
การเดินทาง
เข้าสู่เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) เส้นทางเชื่อมระหว่างเชียงราย - แม่สายด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง ระยะทางห่างจากสถานีขนส่งประมาณ 15 กม. และอยู่ห่างจากสนามบินพาณิชย์จังหวัดเชียงรายประมาณ 3 กม. การคมนาคมสะดวก
ผลิตภัณฑ์
อาหารแปรรูปจากสับปะรด, ปลาส้ม
เว็บไซต์ : เทศบาลตำบล นางแล(http://www.nanglae.go.th/)